หน่วยจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

3

“ปัจจุบันการเผาขยะติดเชื้อในภาคใต้และหน่วยงานด้านสาธารณสุขยังไม่เพียงพอต่อการใช้งาน เนื่องจากเตาเผาขยะจะมีอยูในหน่วยงานของทางราชการเท่านั้น ซึ่งมุ่งเน้นการเผาขยะในหน่วยงานของตนเองเป็นหลัก ยังไม่สามารถให้บริการเผาขยะต่อหน่วยงานภายนอกได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเตาเผาขยะติดเชื้อของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สามารถเดินเครื่องได้อย่างเต็มที่ จากนั้นจะให้บริการกับชุมชนรายรอบต่อไป”

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ตั้งงบประมาณสำหรับการปรับปรุงซ่อมแซมเตาเผาดังกล่าวไว้ประมาณ 5 แสนบาท ดำเนินการซ่อมแซมโดยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรและบุคลากรของมหาวิทยาลัยเองทั้งหมด โดยเตาเผาขยะติดเชื้อดังกล่าวจะสามารถเริ่มใช้งานอย่างเป็นทางการได้ในต้นปี 2559 นี้ โดยสามารถรองรับการเผาขยะติดเชื้อได้ในปริมาณ 100 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ด้วยระบบการเผาแบบแก๊สและความดัน แบ่งเป็น 2 ห้องเผา ประกอบด้วย ห้องเผาขยะและห้องเผาควัน โดยขั้นตอนการเผาเมื่อห้องเผาทำการเผาขยะแล้วหลังจากมีควันเกิดขึ้น ก็จะส่งต่อควันเหล่านั้นไปยังห้องเผาควันอีกครั้ง เพื่อให้ห้องนี้เผาละเอียดและมีการดักจับเขม่า ควันและไอระเหยต่างๆ ก่อนปล่อยออกสู่สภาพแวดล้อม

1